1 กันยายน 2555

เรื่องที่ฉันภูิมิใจมากที่สุด

รางวัลแรก


ถ้วยแรก

ฉันกำลังศึกษาอยู่ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔ 
ได้รับการคัดเลือกเข้าประกวดแข่งขัน เชียร์รีดดิ่ง
ของอำเภอ สะเดา 
ซึ่งขณะนั้น ดิฉัน ศึกษาที่โรงเรียนวงศ์วิทย์
ได้รับการสนับสนุนจากคณะอาจารย์ และผู้ปกครอง
ฝึกซ้อมอย่างหนัก จนกระทั่ง
คว้ารางวัล ชนะเลิศ อันดับ หนึ่ง
ของอำเภอ สะเดา 
ถือว่าถ้วยรางวัลถ้วยนี้เป็นถ้วยแรกสำหรับฉัน

 เทอมแรก

ปัจจุบัน ดิฉัน ศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏสงขลา 
ดิฉันได้รับคัดเลือกให้เป็นนักศึกษา ในปีภาคเรียน2554
เกรดเฉลี่ยเทอมแรก ทำให้ฉันภูมิใจ ม๊ากมาก
เกรดเฉลี่ย 3.62

ทุนแรก

ต่อเนื่องจากที่ฉันเรียนได้เกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป
   ทำให้ฉันได้รับทุนการศึกษา "เรียนดี" 
ของ ตำรวจตระเวนชายแดน 437
 

28 กรกฎาคม 2555

e-commerce


1.
  • web e-commerce ประเภท B2C เป็นการทำธุรกรรมระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภคโดยตรง เป็นการซื้ขายตามปกติ
2.
  • สินค้า คือ เครื่องสำอางภายใต้แบรนชื่อว่า BEAUTY BUFFET 
  • กลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์ บุคคลทั้วไปทั้งวัยเรียนและวัยทำงาน ที่ใช้เครื่องสำอางค์

3.    
     ฟังก์ชันการใช้งานของเว็บไซต์
  • สีสัน    :  สวยงาม หวาน สีชมพู ตรงกับคอนเซ็พของร้าน
  • สีสัน    :  มีการโชว์รูปแบบหน้าร้าน เหมือนร้านจริง
  • บริการ  :  เมนูเสนอสินค้า รายละเอียดของสินค้า ราคา  และการแบ่งกลุ่มประเภทของสินค้า  
  • บริการ  :  โชว์โปรโมชั่นของร้าน
  • บริการ  :  Tips ข้อแนะนำเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
  • บริการ  :  ข่าวประชาสัมพันธ์
     ใช้งานได้ง่าย เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย




6 พฤษภาคม 2555

ระบบคุณภาพ TQM


 ระบบการควบคุมคุณภาพอย่างทั่วถ้วน (Total Quality Management) หรือ ระบบ TQM
ที่มาของแนวคิดเรื่อง  TQM

          แนวคิด TQM ถูกคิดค้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย W.Edwards Deming เพื่อปรับปรุงคุณภาพการผลิตสินค้าและบริการ แต่ชาวอเมริกายังไม่ได้มีการนำมาใช้อย่างจริงจัง 
   
         จนกระทั่งปี ค.ศ. 1950 ประเทศญี่ปุ่นซึ่งในขณะนั้นกำลังประสบปัญหาอย่างมากในเรื่องคุณภาพของสินค้า ซึ่งไม่ได้มาตรฐาน จึงได้นำแนวคิด TQM มาใช้ปรับปรุงและพัฒนา ทำให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมภายในประเทศญี่ปุ่นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ดีขึ้น จากสินค้าที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นนั้นจะถือเป็นสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ กลายเป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดจนกลายเป็นสินค้าชั้นหนึ่ง จากนั้นประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของ TQM และเริ่มกลับมาสนใจในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องอีกครั้งหนึ่งใน ปี 1980 ส่วนในประเทศไทยเองนั้นเริ่มมีการพูดถึงหลักการดังกล่าวตั้งแต่ราวๆ ปี 1985 (Mehrotra, 2007)

ความหมายของระบบ TQM



          หมายถึง  : การบริหาร หรือวิธีการจัดการที่จะให้ได้มาซึ่งงานหรือบริการที่มีคุณภาพ ด้วยการร่วมมือร่วมใจกันของทุกคน ทุกระดับ
          ระบบ TQM เป็นระบบการบริหารองค์กรระบบหนึ่ง ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน 
          ระบบ TQM ไม่มีคำจำกัดความที่ดีที่สุดเพียงคำจำกัดความเดียว และไม่มีวิธีการหรือวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียว แต่ปรัชญา แนวความคิด หลักการสำคัญ และวิธีปฏิบัติจะคล้ายกัน มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเหมือนกัน และให้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน เพื่อทำให้องค์กรอยู่รอด เติบโตต่อไปอย่างยั่งยืน โดยยึด “คุณภาพ” เป็นแกนหลักในการบริหาร และจัดการ
          ระบบ TQM  คือ ระบบการบริหารองค์กรที่มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วมในการดำเนินการ และร่วมกันปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายแห่งคุณภาพขององค์กรที่วางไว้ ทั้งนี้ผู้บริหารทุกระดับจะต้องมีความยึดมั่น ผูกพันที่จะส่งเสริมสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจริงจัง

T (Total)                  
              การยินยอมให้ผู้ปฏิบัติงานภายในองค์การ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้ง และบริหารงานระบบคุณภาพ เกี่ยวกับลูกค้าภายนอก (external customer) และลูกค้าภายใน (internal customer) โดยตรง
Q (Quality)      
               การสร้างความพึงพอใจของลูกค้า ต่อการใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการเป็นหลัก มีส่วนเกี่ยวข้องกับแนวความคิดเชิงระบบของการจัดการ (systematic approach of management) กล่าวคือ การกระทำสิ่งใด ๆ อย่างเป็นระบบที่ต่อเนื่องและตรงตามแนวความคิดดั้งเดิมของวงจรคุณภาพที่เรียกว่า PDCA cycle 
M (Management) 
               ระบบของการจัดการหรือบริหารคุณภาพขององค์การ ซึ่งดำเนินการและควบคุมด้วยระดับผู้บริหารสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ (vision) การประกาศพันธกิจหลัก (mission statement) และกลยุทธ์ของการบริหาร (strateship management)  


 วงจรการบริหาร P-D-C-A

PDCA คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย
P = Plan คือ การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น ประกอบด้วย
1.กำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนโดยการพิจารณาถึงตัวแปรที่เกิดขึ้นที่ชัดเจน
2.กำหนดเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้
3.กำหนดวิธีการที่จะปฏิบัติเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด
D = Do คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง ประกอบด้วย
1.ศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติงานและวิธีการตามที่แผนงานกำหนด
2.ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
3.รวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ
C = Check คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ล่ะขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใด ประกอบด้วย
1.ตรวจสอบผลในขณะที่การปฏิบัติงานของพนักงานนั้นเป็นไปตามขั้นตอนที่จัดตั้งไว้
2.ตรวจสอบผลโดยการวัดความผิดพลาด,ความแปรปรวนต่างๆที่เกิดขึ้นจากผลการดำเนินงาน
3.ตรวจสอบผลคุณลักษณะด้านคุณภาพเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่จัดตั้งไว้
A = Action คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็ ยอมรับแนวทางการ
ปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป ประกอบด้วย
1.ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยทันที
2.เมื่อการแก้ไขปัญหาบรรลุผลสำเร็จ ให้จัดทำเป็นมาตรฐานการทำงาน เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ ของปัญหา
3.ปรับปรุงระบบและวิธีการทำงาน



          
โครงสร้างพื้นฐานและองค์ประกอบที่สำคัญของ TQM สำหรับสถาบันการศึกษารายละเอียดของ TQM สามารถจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1) การพิจารณา TQM การรวมที่เป็นแนวคิดเชิงระบบ (Systematic approach)  
               กล่าวคือ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ หน่วยนำเข้า (input) หน่วยกระบวนการผลิต (processing units) และผลลัพธ์ (outputs)


 2)เมื่อพิจารณาจากหน่วยโครงสร้างของกิจกรรมคุณภาพหลัก (basic quality units)
               กล่าวว่า ในองค์กรหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยการบริหารหน่วยกิจกรรมคุณภาพหลักจากระดับต้นสู่ระดับสูงสุดเป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง


หลักการของ TQM

ระบบ TQM ตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานที่ สำคัญของ 3 ประการ คือ

         1. การมุ่งความสำคัญของลูกค้า (customer focus) 
               โดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องระบุให้ชัดเจนว่างานแต่ละเรื่องใคร เป็นลูกค้าหรือเป็นผู้ที่จะต้องนำผลที่ได้จากการทำงานของเราไปใช้และมุ่งทำ ให้บุคคลเหล่านั้นมีความพึงพอใจในผลงานที่ได้รับ
         
        2. การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (process improvement) 
               เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จะต้องมีการปรับปรุงกระบวนการทำงานอยู่เสมอ มีวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงาน โดยมีการวางแผนดำเนินการแก้ปัญหา ตรวจสอบผลการแก้ปัญหา และนำวิธีการแก้ปัญหาที่ได้ผลไปกำหนดเป็นแนวปฏิบัติ
           
        3. การให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม (total involvement) 
               ในงานที่ เป็นภาระหน้าที่ของหน่วยงาน ทุกคนต้องรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย และรับผิดชอบในผลการปฏิบัติงานโดยรวมของทั้งหน่วยงานและขององค์การร่วมกัน



ข้อเสนอแนะในการนำ TQM ไปใช้

          การที่ จะนำ TQM มาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา ถึงแม้จะมีอุปสรรคหลายประการ แต่ก็มีทางเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้โดยขั้นตอนง่าย ๆ สำหรับการนำมาประยุกต์ใช้ มีดังนี้คือ
          1. ขายความคิด (ทำความเข้าใจและเผยแพร่ความคิด)
          2. สร้างความตระหนัก (ให้ความสำคัญและเห็นคุณค่า)
          3. เตรียมทีมงาน (ทุกคนทุกฝ่ายร่วมมือและร่วมกันรับผิดชอบ)
          4. ลงมือปฏิบัติ(นำแนวคิดมาปรับสู่การปฏิบัติ)
          5. จัดให้มีการศึกษาและฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง
          6. ประเมินผลการปฏิบัติงาน
          7. ปรับปรุงแก้ไขให้ดีกว่าเดิม


ที่มา :
- idis
- fin
- MBA

21 เมษายน 2555

ประเพณีสงกรานต์

ประเพณีสงกรานต์

   
     ประเพณีสงกรานต์ ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย รับแต่สิ่งๆที่ดีเข้าสู่ชีวิต 

          มาทำบุญกันน่ะค่ะ


     ต่อกันด้วยมาสรงน้ำพระกัน



 
ช่วงบ่ายออกมาดู สงกรานต์หาดใหญ่ กันดีกว่า  บรรยากาศจะเป็นน๊า 


 มิดไนท์คืนก่อนสงกรานต์ ภาพนี้ได้มาจากเพื่อนส่งให้
 
    

เรามารู้จักประวัติวันสงกรานต์กันหน่อยน่ะ

      ปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมกลับบ้านช่วงเทศกาลนี้เพื่อไปการสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ไปพบปะญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง รวมทั้งเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุก ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นชีวิตในปี ใหม่ไทยที่มีความสุข
     
      สำหรับตำนานความเชื่อเกี่ยวกับ "นางสงกรานต์"ในปีนี้   ทางกระทรวงวัฒนธรรมก็ได้เผยชื่อและลักษณะ พร้อมคำทำนายของนางสงกรานต์ ประจำปี 255  ซึ่งบอกไว้ว่า  วันมหาสงกรานต์ปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 13 เมษายน ปีมะโรง หรือปีงูใหญ่
 



นางสงกรานต์ จึงมีนามว่า  "กิมิทาเทวี"  ที่มีลักษณะ ทรงพาหุรัด ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ หัตถ์ขวาทรงขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จไสยาสน์ลืมเนตร(นอนลืมตา) มาเหนือหลังมหิงส์(กระบือ,ควาย)เป็นพาหนะ

โดยมีคำทำนายออกมาว่า  ในปีนี้ ฝนต้นปีจะมีมาก กลางปีงามแต่ปลายปีน้อย
เกณฑ์พิรุณศาสตร์ปีนี้ พฤหัสบดี เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 500 ห่า ตกในเขาจักรวาล 200 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 150ห่า ตกในมหาสมุทร 100 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 50 ห่า
เกณฑ์ธาราธิคุณชื่อ วาโย(ธาตุลม) น้ำพอประมาณ พายุจัด
เกณฑ์นาคราชให้น้ำ ปีมะโรง นาคราชให้น้ำ 3 ตัว ทำนายว่า ฝนต้นปีมาก กลางปีงาม แต่ปลายปีน้อยแล
เกณฑ์ธัญญาหารชื่อ วิบัติ ข้าวกล้าในไร่นา จะเกิดกิมิชาติ คือ มีด้วงแมลงรบกวน ข้าวกล้า จะได้ผล 1ส่วน เสีย 5 ส่วน
บ้านเมืองจะเกิดยุทธสงคราม มีไฟกลางเมือง จะฆ่าฟันกัน จะนิราชจากกัน จะฉิบหายเป็นอันมากแล
วันเถลิงศก ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน เวลา 23.43.48น. ตรงกับเวลา 0.01.48น. (เวลามาตรฐานประเทศไทยปัจจุบัน)